Friday, June 15, 2012

3 ยุคของผู้นำกังตั๋ง



ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของกังตั๋งลุ่มแม่น้ำแยงซีหลักๆแล้วมีอยู่ 3 คน คือ ซุนเกี๋ยน(พ่อ) ซุนเซ็ก(ลูกคนโต) ซุนกวน(ลูกคนรอง)


จะว่าไปแล้วดินแดนกังตั๋งนั้นเริ่มต้นจริงๆนั้นเริ่มต้นจากซุนเซ็กผู้ที่รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นของกังตั๋งได้ แต่มีรากฐานมาจากซุนเกี๋ยนผู้ซึ่งเป็นบิดา ซุนเกี๋ยนนั้นเป็นผู้นำที่มีความกล้าหาญ ชำนาญในการศึก มีผลงานเป็นอันมาก จนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "เสือขาวแห่งกังตั๋ง" มีอุมดมการณ์ต้องการตั้งตัวเป็นใหญ่ ซึ่งซุนเซ็กเองก็ติดตามบิดาไปทำสงครามที่สมรภูมิต่างๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้เป็นอันมาก ดังนั้น สไตล์ของซุนเซ็กจึงถูกถอดแบบมาจากซุนเกี๋ยนผู้เป็นบิดามา ซุนเซ็กจึงมีความกล้าหาญ ชำนาญในการศึก



ซุนเกี๋ยนนั้นมีลูกน้องเก่งๆมากมายอธิเช่น เทียเภา ฮันต๋ง  อุยกาย ซึ่งเป็นทหารเอกในสังกัด หลังจากซุนเกี๋ยนตายไป เทียเภา ฮันต๋ง  อุยกาย ก็รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 อายุคน ช่วยเหลือซุนเซ็กและซุนกวนได้เป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์ต่อตระกูลซุนเป็นอันมาก




หลังจากซุนเกี๋ยนตายไป ซุนเซ็กผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากบิดามาจึงสามารถขึ้นเป็นผู้นำต่อจากบิดา สามารถดูแลทั้งด้านการปกครองและการทหารได้ แต่หลังจากนั้นไม่นานด้วยความที่ยังอ่อนประสบการณ์ทำให้ต้องตกอับ ไปพึ่งใบบุญของ อ้วนสุด ซุนเซ็กและเหล่าทหารเอกจึงไปเข้าร่วมด้วย แต่แล้วไม่ว่าจะมีผลงานอย่างใดก็ไม่เข้าตา อ้วนสุด ด้วยเลือดนักสู้ซุนเซ็กจึงยอมนำเอาตราหยกแผ่นดินที่บิดาเก็บได้ นำไปแลกกับทหารม้าและกองทหารจำนวนหนึ่ง เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซุนเซ็กจึงเข้ายึดหัวเมืองลุ่มแม่น้ำแยงซีได้เกือบทั้งหมด เป็นผู้ก่อนตั้งแดนดินกังตั๋ง




ซุนเซ็กได้พบกับจิวยี่และได้ตกลงกันเป็นพี่น้องร่วมสาบาญก่อร่างสร้างเมืองกังตั๋งมาด้วยกัน ซุนเซ็กเล็งเห็นความสำคัญของบุคคลากรจึงประกาศหานักปราญช์เข้ามาร่วมด้วยจึงได้ เตียวเจียว เตียวเหียน มาไว้เป็นที่ปรึกษา ต่อมาได้ทหารเอกมาไว้เป็นพวกมากมายอธิเช่น ไทสูจู้ จิวท่าย เจียวหิม ตันบู กองทัพของซุนเซ็กจึงมีคุณภาพขึ้นมา




กังตั๋งเริ่มจะเป็นปึกแผ่น แต่แล้วซุนเซ็กก็โดนลอบทำร้ายจากเกาฑัณอาบยาพิษ ก่อนตายได้มอบตราเจ้าเมืองให้ซุนกวนผู้น้องได้สืบทอดอำนาจต่อไป เมื่อเทียบผู้นำทั้ง 3 คน ซุนเกี๋ยนและซุนเซ็กนั้นเป็นผู้นำสายบู้สายสงคราม แต่ซุนกวนนั้นเป็นผู้นำฝ่ายบุ๋นฝ่ายการบริหารปกครอง ถึงซุนกวนจะสู้รบไม่เก่งแต่ก็สามารถบริหารเมืองกังตั๋งได้เป็นอย่างดี เป็นปึกแผ่นมากกว่า บิดาและพี่ชาย ซุนกวนได้นักปราชญ์เพิ่มขึ้นหลักแล้วก็จะมี โลซกและจูกัดกิ๋น มาช่วยงาน





ยุทธศาสตร์ของกังตั๋งนั้นได้เริ่มขึ้นหลังจากโลซกเข้ามาช่วยบริหาร จะว่าไปแล้วยุคของซุนเกี๋ยนได้วางรากฐานทางการทหารไว้ให้ ซุนเซ็กได้รับช่วงต่อทำสงครามจนได้ที่มั่น แต่เป้าหมายได้ชัดเจนกว่าเดิมในยุคซุนกวน


ถึงแม้ซุนกวนจะมีฝ่ายบุ๋นมากมายเช่น จิวยี่และเตียวเจียว แต่ก็ยังหาปัญญาสู้โลซกไม่ จิวยี่จะเป็นบุ๋นผสมบู้ บรรชาการทหารได้ เตียวเจียวจะไปทหารการเมืองการปกครอง แต่ทั้ง 2 คนยังไม่มียุทธศาสตร์แต่อย่างใด



แต่แล้วเมื่อได้โลซก โลซกได้วางแผนเป้าหมายและยุทธศาสตร์ให้คือ ต้องสร้างความเป็นปึกแผ่นในดินแดนกังตั๋งทุกหัวเมืองเสียก่อนแล้วค่อยยึดแผ่นดินใหญ่ ถึงแม้นโลซกจะเป็นนักวางแผน แต่ก็ไม่มีความฮึกเหิมกระทำศึกสงครามแต่อย่างใดประกอบด้วยบุคคลากรของกังตั๋นนั้นไม่เชี่ยวชาญในการรุก ยุทธศาสตร์ของกังตั๋งจึงเน้นไปทางรับเสียมากกว่า ดังนั้นก๊กของซุนกวน จึงมีความกระหายสงครามน้อยกว่า โจโฉและเล่าปี่ 



การบริหารของซุนกวนนั้นจะเน้นไปทาง Team Work และรู้จักใช้คน ไม่เน้นทำเองแต่เน้นมอบหมายงานให้ลูกน้องทำและเชื่อใจผู้ใต้บังคับบรรชา ซุนกวนจึงไม่ค่อยมีบทบาทในการทำสงคราแต่อย่างใด เช่นในศึกเซ็กเพ็ก ซุนกวนก็ได้มอบหมายให้จิวยี่เป็นผู้บรรชาการทหารสูงสุดเพื่อทำสงครามกับโจโฉ ถึงแม้ซุนกวนจะมีการรุกรานโจโฉอยู่หลายต่อหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถยึดเมืองโจโฉไว้ได้ นี่ก็เป็นเพราะว่าง่อก๊กของซุนกวนนั้นไม่ถนัดทางรุก แม้กระทั่งก๊กของโจโฉและเล่าปี่เอง ได้ยกทัพใหญ่เข้ามาตีดินแดนกังตั๋งหลายต่อหลายครั้งก็ไม่สำเร็จเช่นกัน




นอกจากง่อก๊กจะถนัดยุทธศาสตร์เชิงรับแล้ว ทหารยังถนัดรบทางเรือมากที่สุดในแผ่นดิน เนื่องจากดินแดนกังตั๋งนั้นเป็นแม่น้ำ มีแม่น้ำแยงซีเป็นเกราะเพชรคุ้มครองเมืองกังตั๋งไว้ ยากที่ข้าศึกจะเข้าตีได้สำเร็จ


ฝ่ายกังตั๋งแลเห็นว่าโจโฉคือศัตรูที่เข้มเข็งที่สุด การกำหนดสถานการณ์ตัวก๊กของตัวเองต้องเป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ ทั้ง 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันคือต้านทานโจโฉ