ขงเบ้งได้สั่งประหารอุยเอี๋ยนโดยมีมูลเหตุ 3 ประการ
1.ขงเบ้งว่า "ผู้ใดกินข้าวแดงท่านแลฆ่าท่านผู้มีคุณเสีย ผู้นั้นเป็นคนหากตัญญูไม่ ผู้ใดอาศัยอยู่ในแผ่นดินของท่านแล้วคิดยกเอาแผ่นดินไปให้ผู้อื่นเสีย ผู้นั้นเป็นคนหาความสัตย์ไม่"
ขงเบ้งบอกกับเล่าปี่ว่าไม่ควรชุบเลี้ยงคนที่เนรคุณคน
2. ขงเบ้งจึงว่า "อนึ่งข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูในลักษณะอุยเอี๋ยนนั้น เห็นหาตรงต่อผู้มีคุณไม่ ถึงมาตรว่าเราจะเลี้ยงไว้ นานไปก็จะทรยศเป็นมั่นคง"
พูดง่ายๆก็คือ คัมภีร์นรลักษณ์(โหงวเฮ้ง) ไม่ดี ซึ่งลักษณะของอุยเอี๋ยน ซึ่ง สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และสามก๊กฉบับสมบูรณ์ ก็มิได้กล่าวถึง มีเพียงแต่ภาพวาดของอุยเอี๋ยน
ซึ่งนรลักษณ์ของอุยเอี๋ยนประกอบด้วย สามเบี้ยวคือ ระดับหูทั้งสองข้างไม่ตรงกัน ระดับตาทั้งสองข้างไม่ตรงกัน ขอบรูจมูกทั้งสองรูไม่ตรงกัน นอกจากนี้ลักษณะคลองนัยน์ตาแคบ ดวงตาขาวมากกว่าตาดำ ดวงตาดำมีลักษณะกลิ้งกลอก ต้องด้วยคัมภีร์นรลักษณ์แต่โบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะของคนเนรคุณ
3. ประการสุดท้าย ขงเบ้งยังมีความรู้เกี่ยวกับการจับยามตามคัมภีร์อี้จิงบังเกิดนิมิตในขณะที่เล่าปี่กำลังเดินทางไปเมืองเตียงสา และสามก๊กฉบับวิจารณ์บางฉบับซึ่งเน้นลักษณะนิมิต ลาง และการพยากรณ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อขงเบ้งเห็นลักษณะอุยเอี๋ยนก็ได้จับยามตามคัมภีร์อี้จิงตามเวลาที่ได้เห็น ปรากฏว่าต้องด้วยปูมวินาศแก่ตัวของขงเบ้ง ซึ่งหมายความว่าอุยเอี๋ยนจะเป็นผู้ผลาญชีวิตของขงเบ้ง ดังนั้นขงเบ้งจึงคิดที่จะประหารอุยเอี๋ยนเพื่อป้องกันเหตุร้ายในภายหลัง